ชนิดของเนย
เนย
เป็นส่วนผสมสำคัญที่ทำให้เบเกอรี่มีความอ่อนุ่มชุ่มชื่น
กลิ่นหอม เพราะมีไขมันเป็นตัวช่วยให้เกิด กลิ่น รส ความนุ่ม
และยืดอายุการเก็บให้นานขึ้น ซึ่งเนยที่มักใช้ในการทำเบเกอรี่กันบ่อยๆนั้น
แบ่งเป็นหลักๆได้ 3 ประเภท ดังนี้
1. เนยสด (Butter)
เป็นไขมันที่ได้จากการสกัดน้ำนมสัตว์ ส่วนใหญ่จะใช้นมวัว
แล้วนำไปผ่านกระบวนการทำให้แข็งตัวเป็นก้อน มีไขมันประมาณ 80% มีสีเหลืองเข้มจนถึงสีเหลืองอ่อน ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์วัว ซึ่งเนยประเภทนี้
จะต้องเก็บไว้ในตู้แช่หรือตู้เย็น มิฉะนั้นเนยจะเหลวหรือละลาย
เนยสดมักจะทำเป็นก้อนสี่เหลี่ยม มีหลายขนาดแต่ขนาดมาตรฐานหนักก้อนละ 227 กรัม หรือเท่ากับ 1 ถ้วยตวง
เนยคุณภาพดีต้องมีปริมาณไขมัน 85% ขึ้นไป
และมีราคาค่อนข้างสูง เนยสดแยกออกเป็นสองชนิดคือ
เนยสดชนิดจืด (Unsalted butter) และเนยสดชนิดเค็ม (Salted
butter) ซึ่งเนยสดชนิดจืดจะมีกลิ่นหอม
และออกรสหวานกว่าเนยสดชนิดเค็มเล็กน้อย
เบเกอรี่ส่วนใหญ่นิยมใช้เนยสดชนิดจืดเป็นส่วนผสมมากกว่าชนิดเค็ม เนยสดชนิดเค็ม
มักนิยมใช้ทำเค้กเนยสด บิสกิต และคุกกี้บางชนิด
เนยสดมี 2 ชนิด คือ
- ชนิดจืด (Unsalted butter) จะมีกลิ่นหอม และหวานนิด ๆ
- ชนิดเค็ม (Salted butter)
2. มาการีน(Magarine)หรือเรียกอีกอย่างว่า "เนยเทียม" มีสีเหลืองเข้มกว่าเนย
กลิ่นหอม ทำจากไขมันจากพืช เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว น้ำมันข้าวโพด
น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น มีส่วนประกอบของไขมันประมาณ 80-85% จึงมีจุดแข็งตัวที่อุณหภูมิห้อง นำมาปรุงแต่งสี
กลิ่นและรสให้คล้ายกับเนยสด สามารถใช้แทนเนยสดได้
ซึ่งหลายๆคนมักนิยมใช้มาการีนแทนเนยสด เพราะราคาที่ถูกกว่าและเก็บรักษาได้ง่ายกว่า
โดยมาการีนสามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องโดยไม่ละลายได้ แต่ความหอม
อร่อยจะน้อยกว่าเนยสด บางครั้งนิยมใช้มาการีนผสมกับเนยสดเพื่อทำเค้ก คุกกี้
เพราะมาการีนสามารถตีให้ขึ้นฟูได้ดีกว่าเนยสด
หากนำมาทำเค้กเนื้อเค้กจะนุ่มอร่อยกว่าใช้เนยสดล้วน ๆ
เนื่องจากมาร์การีนมีสารอิมัลซิไฟเออร์ซึ่งทำให้น้ำและไขมันเข้ากันได้ดี
ทำให้โมเลกุลของน้ำอยู่ในเนื้อเค้กได้นานขึ้น เกรดของมาการีนแต่ละยี่ห้อนั้นขึ้นอยู่กับน้ำมันพืชแต่ละชนิดที่นำมาทำ
ถ้ามาการีนเกรดต่ำสุดจะทำมาจากน้ำมันปาล์มซึ่งจะไม่ค่อยหอมเท่าไหร่
มาการีนหรือเนยเทียมที่ใช้ในการทำเบเกอรี่ที่มักพบเห็นได้ในบ้านเรา แบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้
- มาการีนสำหรับทำเค้ก
คุกกี้ หรือเอแคลร์ มีคุณสมบัติในการตีขึ้นฟูได้ดีได้เนื้อขนมมาก และฟูเบา
- มาการีนสำหรับทำพายชั้น เดนิช
เพสตรี Denish Pastry margarine และครัวซองค์ เป็นมาการีนที่มีจุดหลอมเหลวสูง มีคุณสมบัติที่เรียกว่า
พลาสติซิตี้ คือ มีความเหนียวรีดคลึงได้ง่าย และทำให้ชั้นของแป้งสูงขึ้น
- มาร์การีนชนิดอ่อน (Table
margarine) มีความอ่อนตัวสามารถตักทาบนขนมปังได้
มีกลิ่นและสีคล้ายเนยสด และสามารถละลายได้ง่ายในปาก
3. เนยขาว (Vegetable Shortening)
เนยขาวมีลักษณะเป็นครีมสีขาว ทำจากน้ำมันพืชบริสุทธิ์ ไม่มีกลิ่น เช่น
น้ำมันปาล์ม , น้ำมันข้าวโพด,น้ำมันมะพร้าว
เป็นต้น โดยนำมาผ่านขบวนการเติมไฮโครเจน ทำให้ไขมันแข็งตัวยิ่งขึ้น
และไม่ได้มีการเติมกลิ่น สี ใด ๆ เนยขาวจึงเป็นไขมันล้วน ๆ 100%
มีขายทั้งแบบกระป๋องหรือแบ่งขายเป็นกิโลกรัม เนยขาว ไม่มีกลิ่นและรส
เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง มีความคงตัวดี ตีแล้วขึ้นฟูไม่เหลว มักใช้ในการทำขนมปังโรล
และผลิตภัณฑ์ยีสต์ ใช้ทาถาดพิมพ์สำหรับอบ เพื่อไม่ให้ขนมติดพิมพ์เมื่ออบสุก
หรือใช้ผสมกับเนยสดเพื่อตีเป็นครีมแต่งหน้าเค้ก
เนยขาวที่ใช้สำหรับทำเบเกอรี่
แบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้
- ชอร์ตเทนนิ่งสำหรับทำครีม
มีคุณสมบัติเด่นในการตีให้ขึ้นฟูได้เร็ว ได้ครีมที่ฟูเบา มีสีขาว ไม่มีกลิ่นและรส
มักใช้ทำบัตเตอร์ครีมแต่งหน้าเค้ก หรือคัพเค้ก
- ชอร์ตเทนนิ่งสำหรับทำขนมปัง
บิสกิต มีคุณสมบัติในการผสมเข้ากับก้อนแป้งได้ง่าย ไม่มีกลิ่นและรสชาติแปลกปลอม
- ชอร์ตเทนนิ่งสำหรับทอดแบบน้ำมันท่วม
มักใช้ทอดพวก โดนัท หรือขนมทอดต่างๆ เนื่องจากเนยขาวแบบนี้จะมีจุดเกิดควันสูง
เมื่อนำไปทอดเนยขาวจะไหม้ช้ากว่าน้ำมันพืช จึงมีอายุในการใช้งานยาวนานกว่าน้ำมันพืชทั่วไป
(ใช้ได้หลายครั้งโดยน้ำมันไม่ดำ) และชอร์ตเทนนิ่งมีคุณสมบัติเด่นคือ
เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง เมื่อทอดขนมแล้วทิ้งให้เย็น
เนยขาวจะเคลือบผิวของขนมทำให้ขนมมีลักษณะไม่อม ไม่เยิ้มน้ำมัน
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง
ข้อมูลและภาพจาก Internet ที่เป็นเจ้าของ